Background



แหล่งท่องเที่ยว
วัดตะโหมด
2032
9 พฤศจิกายน 2564

วัดตะโหมด
1.ประวัติบ้านตะโหมด
            ‘ตำบลตะโหมด’   เมืองเล็กๆ ในอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง     เเต่เมืองเล็กๆเเห่งนี้กลับเป็นเเหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ    ทั้งในด้านประเพณี     วัฒนธรรม  สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านในเรื่องของความเชื่อ       การเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง สำหรับชาวบ้านตะโหมดโดยเฉพาะชาวไทยพุทธมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจที่เคารพนับถือมาช้านานนับตั้งเเต่เริ่มตั้งวัดนับเป็นเวลา 100 ปีมาเเล้ว
 
            สำหรับร้อยเรื่องเมืองตะโหมดในวันนี้ได้นำเสนอเกี่ยกับประวัติของพ่อท่านช่วย ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชาวตะโหมด เนื่องจากตามหลักฐานที่ปรากฎว่าในสมัยก่อนวัดตั้งอยู่
 
 ทางทิศใต้ห่างจากที่ตั้งวัดในปัจจุบัน 300 เมตร ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดเหนือ เพราะอยู่ต้นน้ำลำธารของวัดปัจจุบัน โดยมีประวัติดังต่อไปนี้ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
 
                        พ.ศ.2330 หลวงพ่อไชยทอง (พ่อเเก่ไชยทอง)เป็นผู้ปกครองวัดเหนือ เเต่สันนิษฐานว่าวัดยังไม่ได้รับอนุญาติตั้งให้ถูกต้องกฎหมาย
 
                        พ.ศ2450 หลวงพ่อเปียเดินทางมาจากวัดดอนคัน ต.คูขุด อ.สทิงพระ จ.สงขลา ท่านเห็นว่าป่าช้าเเห่งนี้(บริเวณวัดปัจจุบัน)เป็นที่สงบเหมาะเเก่การ
 
                                        ตั้งเป็นสำนักสงฆ์ ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดใต้ เพราะตั้งอยู่บนต้นน้ำลำธาร เมื่อสำนักสงฆ์เเห่งนี้เจริญขึ้น ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาได้เข้าพิธีอุปสมบท   เเละ                                           ช่วยกันสร้างเเม่น้ำลำคลอง  (เป็นอุกเขปสึมา)เพื่อใช้ในการอุปสมบทกรรม
 
                        พ.ศ. 2452   เมื่อหลวงพ่อเปียชราภาพมากเเล้วจึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ชาวบ้านจึงได้นิมนต์พระช่วย อินทสโร จากวัดช่างทอง  เดิมท่านเป็นชาวปัตตานี                                               ให้มาเป็นพระกรรมอาจารย์       ในปีต่อมาพระช่วยได้รับเเต่งตั้งเป็นพระอธการช่วย เเละเป็นเจ้าอาวาสรูปเเรกของวัด
 
                        พ.ศ. 2477 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
 
                        พ.ศ.2481 ท่านอธิการช่วยได้มรณะภาพลง พระเลื่อนเเละพระเช้ง จากวัดเชิงเเส จึงเข้ามาดูเเลวัดระยะหนึ่ง เเละต่อมาในปี พ.ศ.2484 พีะครูเขาเดิม วัดเขียนบาง                                            เเก้ว เจ้าคณะวัดในสมัยนั้น       ได้นิมนต์พระหมุนธมมปาโล (พระครูพิมลชยานุรักษ์)จากวัดไทรขามใหญ่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดตะโหมดรูปที่ 2                                                      ซึ่งท่านได้ดำเนินการสร้างอาคารเรียนเเละอุปการะโรงเรียนด้วย
 
                       พ.ศ.2510 พระครูหมุน ได้รับการเเต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเเม่ขรีประชาราม หลังจากไปจำวัดเมื่อ   ปีพ.ศ 2500 รวมทั้งพระปลัดจ้วน อตตมโน                                                                        (พระครูอุทิศกิจจาทร)        ที่ปกครองดูเเลวัดในปี2500       ได้รับการเเต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดตะโหมดเเละได้ดำเริ่มพัฒนาวัดมาจนถึงปัจจุบัน โดย                                             ท่านได้ติดต่อทางราชการขอเปิดเรียนระดับ ป.7ขึ้นที่โรงเรียนวัดตะโหมด     ภายหลังมีการออกพระราชบัญญัติเเลกเปลี่ยนกรณีสงฆ์กับเอกชนจึง                                                ทำให้ สามารถดำเนินการสร้างอาาคารเรียนจนสำเร็จ
 
                       พ.ศ.2516 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จเปิดห้องสมุดประชาชนที่วัดตะโหมดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน
 
                       พ.ศ.2522 วัดได้ขยายอาณาเขตจากการอุทิศที่ดินจำนวน 2 ไร่ จากนายอ่องเเละนางจำเริญ ไชยโยธาเเละพระปลัดจ้วนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์                                                               เป็นพระครูสัญญาบัติเจ้าคณะตำบลชั้นตรี มีพระราชทินนามว่า พระครูอุทิศกิจจาทร
 
                       พ.ศ.2526 กรมศาสนาให้วัดตะโหมดเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
 
                       พ.ศ.2530 กรมศาสนาให้วัดตะโหมดเป็นวัดพัฒนาดีเด่น เเละเเม่กองธรรมสนามหลวงอนุมัติให้วัดตะโหมดเป็นสนามสอบธรรมสนามหลวงจนถึงปัจจุบัน
 
                                   
 
                ปัจจุบนวัดตะโหมดตั้งอยู่บนหมู่ที่ 3 ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง มีเนื้อที่ 26 ไร่ 3 งาน 2 ตารางวา มีธรณีสงฆ์1 ไร่ 3 งาน      ปัจจุบันสถานเเห่งนี้ยังคงเป็นที่เคารพนับถือ บูชา ของชาวบ้านตะโหมด เเละชาวบ้านใกล้เคียง     เป็นอีกหนึ่งในร้องเรื่องราวของเมืองตะโหมดที่เต็มไปด้วยมนต์เสนห์ที่ท่านต้องมาสัมผัสด้วยตนเอง
 
        ชุมชน “ตะโหมด” เป็นชุมชนที่เก่าแก่ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งเมื่อสมัยอยุธยาตอนต้น โดยมีหลักฐานจากแหล่งต่างๆดังนี้ 
 
    1. ตำนานที่เล่ากันมาของผู้เฒ่าผู้แก่ กล่าวถึงเส้นทางค้าขายของชาวอินเดียกซึ่งเดินทางมาจากฝั่งทะเลอันดามัน (อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง) ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ข้ามเทือกเขาบรรทัดทางช่องเขาตระผ่านชุมชนตะโหมดบริเวณบ้านเขาหัวช้าง ซึ่งมีลำคลองหัวช้าง(คลองโหล๊ะหนุน) คลองสายนี้ไหลไปรวมกับคลองสายอื่นอีกหลายสายเป็นคลองท่ามะเดื่อไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลาบริเวณอำเภอบางแก้ว ซึ่งเส้นทางสายนี้ไปขึ้นที่เมืองสทิงพระหรือสทิงพาราณสี (อำเภอสทิงพระจังหวัดสงขลาในปัจจุบัน) ทางฝั่งอ่าวไทย จากการเดินทางด้วยเส้นทางดังกล่าวก็เกิดมีชุมชนเล็กๆ ขึ้น และพัฒนาเป็นชุมชนบ้านตะโหมดในปัจจุบัน โดยมีร่องรอยทางบโบราณคดี ปรากฎหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้มีท่าวัดเป็นชื่อท่าน้ำของบ้านหัวช้าง และถ้ำพระอยู่บริเวณเขาหัวช้าง ซึ่งเป็นทางผ่านของเส้นทางเดิมนี้ และเส้นทางสายนี้ก็ยังเป็นทางที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางเดินป่าล่าสัตว์และหาของป่าจากตะโหมดไปยังฝั่งตะวันตกของเทือกเขาบรรทัดอยู่ถึงปัจจุบันนี้ จากตำนานบอกเล่า และแหล่งวรรณคดีที่ปรากฎน่าจะเชื่อถือได้ว่าตะโหมดเป็นชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานชุมชนมานานแล้วอย่างน้อยก็น่าจะเป็นช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น 
 
    2. หลักฐานจากวัตถุโบราณที่ค้นพบ จากหลักฐานที่ปรากฎเชื่อว่าบ้านตะโหมดเป็นชุมชนเก่าแก่มีมาตั้งแต่อยุธยา เช่น พบพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 20 เซนติเมตร ศิลปะอู่ทอง ขุดพบภายในสระน้ำของวัดเหนือ (ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างที่อยู่ทางทิศใต้ของวัดตะโหมดห่างกันไม่มากนัก) และมีวัดถ้ำพระเป็นวัดร้างตั้งอยู่ที่เขาพระ บ้านหัวช้าง หมู่ที่ 2 ตำบลตะโหมด ซึ่งติดกับเขาหลักไก่ และเขาตีนป่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฎหลักฐานในเพลาวัดเขียนบางแก้วว่าเป็นวัดหนึ่งขึ้นกับคณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุงบริเวณวัดมีถ้ำแห่งหนึ่งเรียกว่าถ้ำหัวช้าง ปากถ้ำหันไปทางทิศใต้เดิม ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปันปางไสยาสน์หนึ่งองค์ขนาดยาว 14 เมตร ฐานพระมีรูปช่างปูนปั้นโผล่แปกกฐานเจ็ดเชือก และมีพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัย พระพุทธรูปไม้จำหลักอีกปลายองค์แต่น่าเสียดายพระพุทธรูปเหล่านี้ได้ถูกทำลายไปหมาดแล้ว ราวๆ พ.ศ.2484 นอกจากนั้ได้มีการพบขวานหินขัดหรือขวานหินใช้สำหรับทุบเปลือกไม้เพื่อนำมาทอผ้า โดยพบที่บ้านโหล๊ะจันกระ ตำบลตะโหมด